[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
หนังสือคู่มือเตรียมสอบ
7.jpg
 
6.jpg
 
พยากรณ์อากาศ
 
ปฏิทินกิจกรรม


พฤษภาคม 2567
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  



  

   เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
นั่งผิดท่า อาจนำไปสู่อาการเจ็บปวดเรื้อรัง  VIEW : 937    
โดย ผู้กองบิ๊ก

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 27.254.112.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์์ ที่ 29 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2562 เวลา 10:22:21    ปักหมุดและแบ่งปัน



          คุณเคยนึกถึงท่าทางของคุณในขณะที่ใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์บ้างหรือไม่? นักวิจัยพบว่าคนส่วนใหญ่ หรืออย่างน้อยก็ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องที่ทุกคนควรใส่ใจ
แม้แต่นายแพทย์ Lushantha Gunasekera ก็เริ่มมีอาการเจ็บปวดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ จนเขาคิดว่าตัวเองควรจะต้องออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อ เขาบอกว่าเขามีอาการปวดบริเวณหลังส่วนบน คอ รวมถึงหัวไหล่ และปวดอยู่เพียงข้างเดียว
     Nathaniel Melendez เทรนเนอร์ที่สถานออกกำลังกาย Orlando Health ทราบดีว่าอาการปวดดังกล่าวนั้นเกิดจากการนั่งผิดท่าผิดทาง เนื่องจากการนั่งตัวงอหรือยื่นหน้าเพื่อดูจอคอมพิวเตอร์จะไปกดกล้ามเนื้อที่ลำคอ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า กล้ามเนื้อตึง และปวดหัว นอกจากนี้ยังอาจทำให้กระดูกสันหลังมีอาการบาดเจ็บ
แต่เรื่องนี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้
     Nathaniel กล่าวว่า การออกกำลังกายแบบช่วยสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อที่ลำตัว และแบบที่ช่วยแก้ไขท่าทางจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ และว่าการนั่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดอาการตึงได้
     แต่นักวิจัยที่ Orlando Health พบว่ามีคนอเมริกันที่ตอบแบบสอบถามน้อยกว่าครึ่งที่ไม่ใส่ใจกับเรื่องนี้
     ทั้งนี้การที่คนเรายื่นศีรษะออกไปข้างหน้าทุก ๆ 2.5 เซนติเมตรจากแนวลำตัว จะเพิ่มแรงกดที่หัวไหล่ถึง 4.5 กิโลกรัม ดังนั้นหากยื่นศีรษะไปข้างหน้า 100 มิลลิเมตร ความไม่สมดุลของน้ำหนักก็จะมากยิ่งขึ้นไปอีก เทียบเท่ากับการที่มีเด็กนั่งอยู่บนหัวไหล่ของคุณเลยทีเดียว
     นายแพทย์ Lushantha Gunasekera กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนท่าทางของเขาสร้างความแตกต่างอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวให้มากขึ้น เคลื่อนไหวให้มากขึ้น และระมัดระวังท่าทางของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ล้วนแต่มีส่วนช่วยให้อาการเจ็บปวดของเขาหายไป
     Melendez จาก Orlando Health กล่าวเสริมว่า การใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนั้น หากเป็นไปได้ควรให้หน้าจออยู่ในระดับเดียวกับสายตา หยุดพักบ่อย ๆ รวมทั้งควรเปลี่ยนท่านั่งไปด้วย
สนับสนุนโดย :GCLUB จีคลับ คาสิโนออนไลน์ คาสิโน online casino online