[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
หนังสือคู่มือเตรียมสอบ
7.jpg
 
6.jpg
 
พยากรณ์อากาศ
 
ปฏิทินกิจกรรม


พฤษภาคม 2567
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  


  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : สรุปการดำเนินโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย ปี ๒๕๕๕
โดย : admin
เข้าชม : 600
อาทิตย์ ที่ 7 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2555 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย ๑ แท็บเล็ต ต่อ ๑ นักเรียน ครั้งที่ ๘
ศึกษาธิการ - ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบาย ๑ คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ ๑ นักเรียน ครั้งที่ ๘/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ห้องประชุมราชวัลลภ
● สรุปการดำเนินโครงการแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาไทย ปี ๒๕๕๕
๑) Hardware ได้ดำเนินการตามแผน โดยสามารถจัดหาแท็บเล็ตได้ครบ ๘๐๐,๐๐๐ เครื่องใน ๒ ล็อต ขณะนี้แท็บเล็ตล็อตที่ ๒ อยู่ในกระบวนการตรวจรับ จากนั้นจะจัดส่งไปยังเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งได้มีการเตรียมข้อมูลและมีแผนในการนำส่งเรียบร้อยแล้ว  เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาที่ระบุให้บริษัทส่งมอบแท็บเล็ตให้เสร็จสิ้นภายในกลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๕
๒) การเตรียมความพร้อมเนื้อหารูปแบบ Digital Content ทั้งที่เป็นสื่อสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน 360 Module สื่อ edutainment และ Application กว่า ๔๐๐ รายการ ซึ่งเป็นไปตามแผน ๖ เดือน ที่จะต้องมีสื่อพร้อมใช้งานสำหรับนักเรียน ป.๑
๓) การติดตามการใช้แท็บเล็ตของนักเรียน ป.๑ จากระบบติดตามของ ICT พบว่าสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตจากแท็บเล็ตนักเรียน ป.๑ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ คือ ในเดือนมิถุนายน (เดือนแรกของการใช้แท็บเล็ต) ใช้อินเทอร์เน็ต ๑,๔๐๐ ครั้ง เดือนกรกฎาคมใช้อินเทอร์เน็ต ๑๔,๒๒๘ ครั้ง เดือนสิงหาคมใช้อินเทอร์เน็ต ๑๐๗,๐๐๐ ครั้ง และเดือนกันยายนมีการใช้อินเทอร์เน็ต ๔๖๐,๐๐๐ ครั้ง  ซึ่งสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ ศธ.จะเน้นการใช้งานแบบออฟไลน์เป็นหลักในปีนี้ แต่สถิติการใช้ระบบออนไลน์ก็มีความถี่สูงขึ้น ส่งผลให้ในอนาคตนักเรียนจะมีโอกาสเข้าถึงสื่อทางอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายและสอดคล้องกับการเรียนรู้ได้มากขึ้น
๔) ปัญหาของแท็บเล็ต ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานในปริมาณที่น้อยกว่า ๐.๐๕% ซึ่งเป็นปริมาณที่ยอมรับได้และเป็นเรื่องปกติ เช่น การชาร์จไฟ เป็นปัญหาจากการใช้งานเกินคุณสมบัติที่กำหนด คือ การชาร์จไฟควรชาร์จไม่เกิน ๓ ชั่วโมง แต่กรณีที่มีปัญหาเพราะชาร์จไฟถึง ๖ ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ศธ.และ ICT จะรับปัญหาดังกล่าวไปจัดทำเป็นมาตรการเสริม เพื่อให้โรงเรียนมีมาตรการในการป้องกัน และจะเน้นย้ำไปยังครูผู้สอนและผู้บริหารโรงเรียนให้ช่วยเหลือดูแลให้มีความรัดกุมมากขึ้น
นอกจากนี้การดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา ๔ เดือนที่ผ่านมา มีความราบรื่นเป็นอย่างมาก ครูผู้สอนให้ความสำคัญต่อการฝึกนักเรียนเพื่อให้รู้จักวิธีการใช้อย่างปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้กรณีร้องเรียนเรื่องมีจำนวนน้อย เพราะครูทุกคนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
● การเตรียมการจัดซื้อแท็บเล็ต ป.๑ และ ม.๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖
ศธ.เตรียมจัดซื้อแท็บเล็ตสำหรับนักเรียน ป.๑ สังกัด สพฐ. จำนวน ๕๕๘,๐๗๗ เครื่อง และสำหรับนักเรียนชั้น ม.๑ สังกัด สพฐ. จำนวน ๖๓๗,๗๕๑ เครื่อง ในวงเงิน ๔,๘๑๑,๑๔๗,๓๐๐ บาท สังกัด สช.ในวงเงิน ๙๓๓ ล้านบาท และสังกัด อปท.ในวงเงิน ๔๖๔ ล้านบาท เพื่อให้ทันใช้งานในปีการศึกษา ๒๕๕๖ โดยจะจัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ e-Auction และจะเปิดโอกาสให้บริษัทในประเทศและต่างประเทศได้แข่งขันอย่างเท่าเทียมกันและคำนึงถึงอุปสรรคในเรื่องต่างๆ เช่น ภาษี กล่าวคือ บริษัทในประเทศซื้อชิ้นส่วนแบบเสียภาษี ในขณะที่บริษัทต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ การที่เปิดโอกาสให้จัดซื้อแท็บเล็ตจากบริษัทในประเทศนั้น จะเป็นการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรม Hardware และ Software ในประเทศ เป็นการสร้างงาน และเพิ่ม GDP ของประเทศให้สูงขึ้น
ที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการไปศึกษาแนวทางเพิ่มเติม ทั้งเรื่องกฎระเบียบด้านพัสดุ การดำเนินการ e-Auction ใน Scale Volume ที่เพียงพอต่อการต่อรองราคาที่เป็นประโยชน์สูงสุด และจะต้องเป็น Volume ที่สามารถบริหารจัดการได้ เป็นการประกันความเสี่ยง เช่น กรณีที่จะต้องผลิตในปริมาณมากจากผู้ประกอบการรายเดียว อาจจะไม่สามารถส่งแท็บเล็ตได้ภายในเวลาที่กำหนด  การประมูลอาจจะแบ่งเป็นรายภูมิภาคประมาณ ๓-๔ ครั้ง โดยมีตัวแทนโรงเรียนของ สพฐ. สช. อปท. กทม. และพัทยา ร่วมวางแผนการประมูลในแต่ละครั้ง เพื่อกำหนดสัดส่วนของโรงเรียนที่จะต้องครอบคลุมทั้งโรงเรียน สพฐ. สช. สาธิต และ อปท.ในการประมูลแต่ละครั้งด้วย ทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการจะนำกลับมาเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
● การเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต
ICT ได้รายงานความคืบหน้าการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตกับโรงเรียนที่มีขีดความสามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในโรงเรียน โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๕ ศธ.สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบไฟเบอร์ออฟติกที่มีความเร็ว ๑ เมกกะบิต จำนวน ๙,๖๐๐ โรงเรียน คิดเป็น ๒๔% แต่โรงเรียนอีกกว่า ๗๐% ยังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในระดับความเร็วที่ต่ำ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะรองรับกับจำนวนแท็บเล็ตในอนาคต  ICT จึงจะเพิ่มขีดความสามารถเรื่องช่องทางความเร็วของอินเทอร์เน็ตภายใต้โครงการสมาร์ทเน็ตเวิร์คของกระทรวง ICT เพื่อนำคลื่นและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาดำเนินการให้เสร็จสิ้นทันเวลาการใช้งานแบบออนไลน์ในปีการศึกษาหน้า 
ที่มา : ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๒๖๘/๒๕๕๕






Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      สพฐ. แจ้งไม่ขึ้นบัญชีกลุ่ม 60/2 18/ต.ค../2555
      ผลประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๕ (๑/๒) 18/ต.ค../2555
      การทำให้ ศธ.โปร่งใสตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด 18/ต.ค../2555
      มติ ครม. ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ 15/ต.ค../2555
      ศธ.เร่งพัฒนาศีลธรรม คุณธรรมผู้บริหารและครูทั่วประเทศ 15/ต.ค../2555




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ thi.twtutor@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป